
‘Metaverse’ โลกใบต่อไปที่จะพาชาว UXer มารู้จักสิ่งที่น่าสนใจและทำไมพวกเราควรถึงต้องรู้จักโลกใบนี้ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ #UX and Metaverse ในภาคต่อตอนสุดท้ายของธีม UX IN THE NEW WORLD โลกใบต่อไปของนักออกแบบประสบการณ์
และอย่าพลาดเนื้อหาไตรภาคตอนอื่นๆจากธีม UX IN THE NEW WORLD นี้!
- ตอนที่ 1 : UX Trends 2022 and Beyond – สรุปงาน UX Day : GO WITH THE FLOW
- ตอนที่ 2 : UX Designer in Confusing DeFi world – สรุปงาน UX Day : GO WITH THE FLOW
- ตอนที่ 3 : UX and Metaverse – สรุปงาน UX Day : GO WITH THE FLOW – คุณกำลังอ่านอยู่ตอนนี้
เนื้อหาเป็นการสรุปสาระงาน UX Day : GO WITH THE FLOW เช่นเคย ยังไงทุกคนสามารถ Follow คอยติดตามข่าวสารงานดีๆจากทางผู้จัด Gang Connector ไว้ได้เลยครับ
…เอาล่ะ เรามาเริ่มเข้าสู่โลก Metaverse กันเลย!
*หมายเหตุ บางส่วนอาจมีเรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาชัดเจนมากขึ้นแต่จะไม่เปลี่ยนความหมายเดิมที่วิทยากรต้องการจะสื่อแต่อย่างใด และ บทความนี้ไม่จำเป็นต้องใส่ VR อ่าน
UX and Metaverse : Design concerns of crafting the virtual experience
โดย คุณแก๊บ Chief eXperience Officer at FINNOMENA
ในปัจจุบัน Metaverse คือสิ่งที่ยังสดใหม่มาก ซึ่งยังไม่ได้มีนิยามมาตีตราไว้ชัดเจนขนาดนั้น ความหมายของมันเลยขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนไป แต่หลักๆแล้วจะมีมุมมองอยู่ไม่กี่อย่างซึ่งเราจะแบ่งเป็น ‘สองสำนัก’ ได้ง่ายๆก็คือ

สำนักแรก : Metaverse เป็น Centralize
แกนนำของสำนักที่มีแนวคิดคล้ายๆกันนี้ก็คือ Microsoft กับ Facebook ที่มองว่า Metaverse เป็นโลกที่มีเจ้าของ แล้วให้คนอื่นๆมาเช่าพื้นที่ในโลกนั้นไปใช้งานผ่านทางเครื่อง VR เป็นหลัก โดยผู้คนจะสามารถมาเพื่อปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น (Social) หรือ จะมาเล่นคนเดียวก็ได้ (Solo) ซึ่งจะเน้นไปที่เรื่อง งาน, ไลฟ์สไตล์ และ เกมส์
สำนักสอง : Metaverse เป็น Decentralize
ที่มองว่าโลก Metaverse ไม่ได้มีใครมาเป็นเจ้าของ โลกใบนี้เป็นของทุกๆคน โดยเน้นไปทั้งการใช้งานผ่านเครื่อง VR และจอ Screen ทั่วๆไป ส่วนใหญ่จะใช้ในเรื่องของการพูดคุย เฮฮาไปกับคนอื่นๆ (Social) ที่เป็นเรื่องไลฟ์สไตล์เป็นหลัก

แต่เราในฐานะที่เป็น UX Designer จะยึดมุมมองไหนเป็นหลักล่ะ?
ไม่ว่า Metaverse ในรูปแบบของสำนักไหนสิ่งที่ต้องมีเลยคือ Avatar ที่ถูกควบคุมโดย User อาจจะผ่านเมาส์, คีย์บอร์ด หรือ เครื่อง VR ก็ว่ากันไป เพื่อไปใช้ Service, Game หรือ Product อะไรบางอย่างใน Metaverse
ซึ่งสิ่งที่ต่างกันกับการใช้งานแอพทุกวันนี้คือ เราจะได้รับ Experience โดยตรง (เพราะเราเป็นคนเล่นแอพเองตรงๆ) แต่ในโลก Metaverse นั้น Experience ที่เราจะได้จะถูกส่งผ่านมาทาง Avatar เท่านั้น
และในมุมมองของคุณแก๊ป ในฐานะที่เป็น UX Designer ก็ได้นิยามไว้ว่า Metaverse คือ Virtual Space ที่ Avatar ของคุณเข้าไปรับ Experience อะไรบางอย่างและส่งต่อมาให้คุณ
…และคำถามสำคัญอีกอย่างนั้นก็คือ แล้วจำเป็นไหมที่ต้องเป็น VR เท่านั้น?
ซึ่งในมุมของคุณแก๊ปมองว่า ‘ใช่! มันต้องเป็น VR’ เพราะ Metaverse มันคือเรื่องของ Experience แล้ว VR มันก็เป็นหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยส่งต่อความรู้สึกจาก Avatar ของเรา มาสู่ตัวผู้ใช้อย่างเราได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด (ให้ลองนึกซะว่าคุณกำลังจูบใครซักคนใน Metaverse ระหว่างที่คุณใช้ VR กับ ใช้คีย์บอร์ดกดคำสั่งเพื่อจูบ อันไหนจะเร้าใจกว่ากัน 🤤)

…เพราะในโลก Metaverse เรามี Designer เป็นพระเจ้า!
จะเป็นยังไงถ้าเราสามารถออกแบบสิ่งรอบตัวให้เป็นไปอย่างใจนึก เหมือนกับที่ธรรมชาติสร้างภูเขา ท้องฟ้า ทะเลสวยๆเวลาเราไปเที่ยว ซึ่งในวันที่ทุกคนอยู่บน Metaverse วันนั้นจะเป็นวันที่ Designer ทรงพลังมากที่สุด!
Preparing For Metaverse Revolution (As A Designer/God)
เอาล่ะ ก่อนจะไปถึงวันนั้น เราต้องรู้อะไรบ้าง และ จะต้องเตรียมตัวยังไงให้พร้อมกับโอกาสที่กำลังจะมาถึง

#1 MUX – Metaverse User eXperience
ความน่าสนใจนั้นอยู่ตรงที่ว่า Metaverse นั้นเกิดขึ้นตรงกลางระหว่าง โลกจริง (Physical Experience) และ โลกออนไลน์ (Digital Experience) เลยเกิดมาเป็น Virtual Physical Experience ประสบการณ์บนโลกจริงที่อยู่บนออนไลน์
Metaverse อาจจะเป็นโอกาสของห้างสรรพสินค้าที่พลิกกลับมาชนะ E-commerce ก็ได้ด้วย Know-How ที่ชำช่องแล้วมาประยุกต์ใช้กับโลกใบใหม่ ยกตัวอย่างเช่น Walmart ที่ทุ่มทุนกับเรื่อง Metaverse มาก
แต่ถึงจะเป็นโลกอีกใบแต่ก็ยังมีข่าวดีคือ Process ในการ ออกแบบ UX ยังคงเหมือนเดิม! แต่อาจจะมีความแตกต่างไปบ้างอย่างเช่นแต่ก่อนเราอาจจะต้องขับรถไปทำ UX หรือไป Observation ในสถานที่จริงๆ แต่ตอนนี้เราอาจจะนั่งบนโซฟาใส่แว่นแล้วเข้าไปดูใน Metaverse แทน

Persona ก็ยังคงมีเหมือนเดิม แต่อาจจะมีเพิ่มมาบ้างในส่วนที่เป็นพฤติกรรมใหม่ๆที่เกิดจากการใช้ VR หรือแม้แต่ Emotion ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ลึกกว่าแต่ก่อนที่เราใช้แอพ เพราะมีเรื่อง Input ที่มากกว่าแค่การใช้ตาดูจอแล้ว ยังมีทั้งเสียง ทั้งท่าทางต่างๆมาประกอบด้วย

รวมทั้งการทำ Wireframe และ Prototype ที่ยังคงทำเหมือนเดิม แม้แต่เทคนิคสุดดิบอย่าง Paper Prototype หรือ เทคนิค Wizard-of-Oz ในการทำ Usability Testing ก็ยังสามารถใช้ได้เช่นกัน


#2 From Screen to Stages – จากหน้าจอมาสู่โลกทั้งใบ
Affordances สำคัญมาก คือต้องสามารถมองแล้วรู้ได้เลยว่าสิ่งนี้ทำงานยังไงโดยไม่ต้องสอน เช่น เห็นก้านลูกบิดแล้วรู้ว่าต้องหมุน (คล้ายยุคของ Skeuomorphism UI ในมือถือ Touch Sceen ยุคแรกๆ ที่ต้องพยายามออกแบบ UI มาให้ใกล้เคียงกับอุปกรณ์ของจริงบนโลก เพื่อคนมาใช้จะได้รู้ว่ามันทำงานยังไงโดยไม่ต้องสอน)
ใน Metaverse ก็เช่นกัน เราจะเรียก UI เหล่านี้ว่า Metamorphism ยังคงต้องออกแบบเพื่อเลียนแบบของที่เราคุ้นเคยบนโลกจริงอยู่

มีอุปกรณ์ เทคนิค ท่าทางใหม่ๆมาเป็นเครื่องมือในการที่เราจะควบคุมสิ่งต่างๆบน Metaverse หรือ แม้แต่เสียงเองก็ตาม ที่เราก็อาจจะสามารถคุยกับพนักงานที่เป็น Virtual ได้เหมือนกัน

VR is The Most Emotional Medium!
#3 Experience Gap – บางปัญหาที่เรายังแก้ไม่ได้
- ปัญหาอย่างนึงที่เราจะหลีกเลี่ยงไปไม่ได้เวลาที่เราอยู่กับ VR นานๆ นั้นคือความล้าของตา ที่ต้องจ้องกับจอที่ใกล้ๆดวงตาเป็นเวลานาน
- อีกปัญหาใหญ่คือเรื่อง สุขภาพจิต เช่น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนที่เล่น VR คือ Plantom Touch หรือความรู้สึกเวลามีคนมาแตะตัวเราใน VR จะเหมือนว่ามีคนมาแตะตัวเราบนโลกจริง 😱
- อาการเมา VR (Motion Sickness)
- การ Track ลำตัวหรือขา ที่อุปกรณ์เสริมยังแพงและติดตั้งยากอยู่
- การเคลื่อนที่จากจุดนึงไปจุดนึงยังทำได้ไม่ดี
- การเอาอุปกรณ์จริงๆมาใช้ใน Metaverse เช่น คีย์บอร์ด ยังทำได้แบบทุลักทุเล ไม่ค่อยสะดวก
จะเห็นได้ว่า Metaverse ก็ยังมีปัญหาอยู่บ้างเหมือนกัน แต่ถึงยังไงซะมันก็ยังคงเป็นสิ่งที่สามารถสร้างประโยชน์ได้มากมาย ขึ้นอยู่กับการเอาไปไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมต่างๆ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถึงโลกนี้จะน่าสนใจเพียงใด ยังไม่ได้มีอะไรมาคอนเฟิร์มได้ 100% ว่า Metaverse คือสิ่งที่จะเป็นยุคต่อไปของทุกๆคน แต่อย่างน้อยๆเราควรจะลองศึกษาไว้เล็กๆน้อยๆ ก็ไม่เสียหาย แต่ถ้าใครมีความเชื่อกับมันอย่างเต็มก็ลุยเลย บางทีคุณอาจจะเป็นผู้นำ UX ในโลกใบใหม่อย่าง Metaverse นี้ก็ได้!
จบทุกหัวข้อกับบทความไตรภาคในธีม UX IN THE NEW WORLD โลกใบต่อไปของนักออกแบบประสบการณ์ หวังว่าทุกท่านจะได้เปิดโลกใบต่อไปของ UX กันตั้งแต่เรื่อง
- ตอนที่ 1 : UX Trends 2022 and Beyond – สรุปงาน UX Day : GO WITH THE FLOW
- ตอนที่ 2 : UX Designer in Confusing DeFi world – สรุปงาน UX Day : GO WITH THE FLOW
- ตอนที่ 3 : UX and Metaverse – สรุปงาน UX Day : GO WITH THE FLOW – คุณกำลังอ่านอยู่ตอนนี้
พวกเรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน ที่โลกกำลังขับเคลื่อนด้วยสิ่งใหม่ๆ หลายคนอาจจะมองว่ามันคือการเปลี่ยนแปลงที่น่ากลัว แต่อย่าลืมว่าทุกๆการเปลี่ยนแปลงย่อมมาพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่า ’โอกาส’ ซึ่งจะมีแต่ผู้ที่เปิดรับและปรับตัวเท่านั้นที่จะมองเห็น
ขอบคุณความรู้ดีๆเรื่อง Metaverse จาก คุณแก๊บ Chief eXperience Officer at FINNOMENA และงานดีๆอย่าง UX Day : GO WITH THE FLOW อีกครั้งนึง

และที่สำคัญที่สุดขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านจนจบ ขอให้ทุกท่านสนุกกับการออกแบบโลกอนาคต ที่จะมาในเวลาอันใกล้นี้นะครับ ขอบคุณครับ
🙏✌️☮️
อ่านอะไรต่อดี